Search
× Search
Menu
  1. หน้าแรก
  2. เกี่ยวกับคณะ
    1. ประวัติความเป็นมา
    2. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    3. โครงสร้างองค์กร
    4. โครงสร้างการบริหารและบุคลากร
    5. แผนงานและประกันคุณภาพ
    6. ฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต
    7. ฝ่ายการสื่อสารองค์กร
    8. หน่วยงานภายใน
    9. ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ
    10. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    11. การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
    12. จรรยาบรรณบุคลากร
  3. ข่าว
  4. วิจัย
  5. วิชาการ
  6. บริการวิชาการ
  7. ติดต่อเรา
  8. แบบฟอร์ม
image

ข่าวสาร

หลักสูตร ศศ.บ. ภาษาไทย ขอแนะนำบทความวิจัยของอาจารย์ในหลักสูตร เรื่อง รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ

หลักสูตร ศศ.บ. ภาษาไทย ขอแนะนำบทความวิจัยของอาจารย์ในหลักสูตร เรื่อง รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ

📚หลักสูตร ศศ.บ. ภาษาไทย ขอแนะนำบทความวิจัยของอาจารย์ในหลักสูตร เรื่อง รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ (Model of Teaching Thai Communicative Skill Using Selected Communicative Activities for foreign learner)

✨โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ

🖋️เผยแพร่ในวารสารวิวิธวรรณสาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (2025) : มกราคม – เมษายน

สามารถอ่านบทความได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/.../wiwit.../article/view/279166

📖งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศและเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการสอนทักษะการสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมคัดสรรสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชาวจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รายวิชา TCF 224 การฟังและการพูดภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 37 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นนำ ทบทวนความรู้เดิมและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ผ่านการสนทนา วีดิทัศน์ และกรณีศึกษา ขั้นสอน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ

การเสนอคำศัพท์และโครงสร้างประโยค การเสนอเนื้อหา และการฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมคัดสรร ขั้นสรุป ใช้การอภิปรายและเขียนสรุปโดยผู้เรียน ขั้นวัดและประเมินผล ใช้แบบทดสอบหลังเรียน กิจกรรมคัดสรรทั้ง 8 กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีการบูรณาการทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18) ทั้งด้านจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม สื่อและอุปกรณ์ และการประเมินผล

ผลการเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาไทยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียน (ร้อยละ 76.90) สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน (ร้อยละ 52.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 51.28 ซึ่งอยู่ในระดับพัฒนาการสูง แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของผู้เรียนชาวต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

#ทีมมศว

#เอกภาษาไทยมศว

#เรียนครบจบที่เอกไทย

#THMajorNEWS

#research #วิจัย #HUSWUResearch #HUSWU

Previous Article 📢 We Are Hiring Native English-Speaking Lecturer 🚨 (Urgent Call for Full-Time Position)🚨
Next Article 28 เมษายน 2568 และ 8 พฤษภาคม 2568 ศูนย์การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาด้านทักษะทางสังคม เพื่อให้นิสิตปริญญาเอกตระหนักถึงอำนาจของสื่อ
Print
43 Rate this article:
No rating

หมวดหมู่

Terms Of UsePrivacy StatementCopyright 2025 by Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University
Back To Top